วันวิสาขบูชา
2557 อภิลักขิตกาลพิเศษ ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ
วันวิสาขบูชา
2557 ตรงกับวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600
พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี
แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา โดยความมหัศจรรย์เนื่องในวันวิสาขบูชาทั้งสามคือ
เป็นวันคล้ายวัน “ประสูติ” ของเจ้าชายสิทธัตถะ
และต่อมาได้ “ตรัสรู้” เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงกอปรไปด้วย พระบริสุทธิคุณ , พระปัญญาคุณ
ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวง จวบจน “เสด็จดับขันธปรินิพพาน” ในวาระสุดท้าย
ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ล้วนเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้น
ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า
วิสาขบูชา ซึ่งย่อมาจากคำว่า วิสาขปูรณมีบูชา การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
วิสาขบูชา
มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว
เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาโลก และด้วยเหตุนี้ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น
วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)
หรือ วันสำคัญของโลก ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ
ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พุทธชยันตี หมายถึง
การครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง
เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา เมื่อ 2,600
ปีก่อน ทำให้พระนามว่า สัมมาสัมพุทธ ปรากฏขึ้นในโลก
เป็นจุดเริ่มต้นแห่งหลักธรรม อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) ประกอบด้วย 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค คือ อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา
ทำให้พุทธศาสนิกชนได้มีพระธรรมเป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิต
ความสำคัญ – วันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
1. เป็นวันประสูติ –
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ
ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน
ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด
แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เป็นวันตรัสรู้ –
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา
ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ
และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา
หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )
3. วันปรินิพพาน –
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน
จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ
สร้างภพอีกต่อไป) ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง
กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี